20 กลวิธีในการจัดการความวิตกกังวล : Strategies for managing anxiety.

  • by
การจัดการความวิตกกังวล

20 กลวิธีในการจัดการความวิตกกังวล : Strategies for managing anxiety.

ความวิตกกังวลเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดที่มีประโยชน์ในบางสถานการณ์ เพราะความกังวลยังช่วยให้เราตื่นตัวและพร้อมรับมือกับปัญหาหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น หากมีความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นอย่างพอดี ถือเป็นเรื่องที่ดีและมีประโยชน์ในการใช้ชีวิตทั่วไป อย่างไรก็ตามโรควิตกกังวลมีความแตกต่างจากความรู้สึกวิตกกังวลทั่วไป คนที่เป็นโรควิตกกังวลจะรู้สึกวิตกกังวลและกลัวอย่างมากเกินและรุนแรงจนมีผลทางลบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน วันนี้แอดมินมีแนวทางด้านจัดการและรับมือกับความวิตกกังวลมาฝากดังนี้

1. How Do I See My Anxiety?

หมั่นสังเกตร่างกายและจิตใจของตัวเองว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ หรือมีพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือไม่ อาจจะสังเกตตัวเองหรือรับฟังข้อมูลสะท้อนจากบุคคลที่ไว้วางใจ

2. Facing Feelings

เผชิญหน้ากับความรู้สึกนั้น หรือหลีกเลี่ยง Avoidance จากรู้สึกความวิตกกังวล

3. Create a sense of protection

สร้างความรู้สึกขึ้นมาทดแทน การทำสมาธิ การทำใจให้สนุกสนาน

4. Entertaining Enjoyment

การฟังเพลง การดูภาพยนตร์ สวนสนุก การเล่นเกม กิจกรรมนันทนาการ

5. Where Is My Safe Place?

สถานที่ ที่เรารู้สึกผ่อนคลาย มีความสบายใจ การออกไปตามสถานที่ต่าง ๆ นอกบ้าน ที่ทำให้รู้สึกสบายใจ ร้านกาแฟ วัด สวนดอกไม้ ฯลฯ

6. Replacing Anxiety with Energy

วิธีการหันเหความสนใจจากความวิตกกังวลด้วยการทำกิจกรรมอื่น ๆ ทดแทน เช่น การทำสวนหย่อม งานอดิเรกที่ชอบ งานบ้าน การออกกำลังกาย การอ่านหนังสือ การเล่นกับสัตว์เลี้ยง การเล่นกีฬา การนั่งสมาธิ หากิจกรรมภายในบ้านทำเพื่อเบี่ยงเบนความคิด

7. Life Balance

การสร้างสมดุลชีวิต การจัดการเวลาการทำงาน จัดการเวลาว่างให้สมดุลกับตนเอง

8. Sleeping Soundly for Emotional Health

นอนหลับพักผ่อน เพื่อสุขภาวะทางอารมณ์

9. Restoring Relationships

การฟื้นฟูสัมพันธภาพกับคนที่จะทำให้ความรู้สึกของเราดีขึ้น

10. Smoothing Out Conflict

การทำให้ความขัดแย้งลดลง นุ่มนวลมากขึ้น วิธีการพูด การแสดงออกต่อบุคคลอื่นที่จะทำให้ลดความวิตกกังวล การให้ การทำบุญ การทำเพื่อคนอื่น เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดี ๆ

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

11. Rethinking or Positives Thinking

การคิดในมุมมองใหม่ ปรับเปลี่ยนวิธีการคิดให้เป็นทางบวก

12. Moving and Tackling Life’s Problems

งมือและจัดการกับปัญหาที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล

13. Hope and goals

ตั้งความคาดหวังและเป้าหมายให้เหมาะสมกับตนเอง ไม่มีอะไรหรือใครสมบูรณ์ที่สุด

14. Talk about with partner

พูดคุยกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนที่เราวางใจ

15. Making Room for Feelings

ทำจิตใจให้ว่าง สำหรับจัดการกับความรู้สึกที่รบกวนจิตใจ

16. Living the Life You Want

ใช้ชีวิตอย่างที่ใจเราต้องการ ทำตามความปรารถนาของตนเอง เช่น ทานอาหารที่ชอบ ไปเที่ยวอย่างที่ใจอยากจะไป

17. Acknowledging the Noise Without Surrendering to It

ยอมรับความวิตกกังวลแต่ไม่ยอมแพ้กับความรู้สึกนั้น ให้กำลังใจกับตนเองว่าเราสามารถเอาชนะได้ทุกสิ่ง

18. Staying on the Path You’ve Chosen

อยู่ในเส้นทางที่เราเลือก การมองไปในอนาคต ลงมือทำปัจจุบันให้ดีเพื่อผลที่ดีกว่าในอนาคต ลดสิ่งที่จะทำให้เกิดความวิตกกังวลในสภาวะปัจจุบัน

19. Consult from experts

ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ นักจิตวิทยา จิตแพทย์หรือนักพฤติกรรมบำบัด หรือปรึกษาพ่อ แม่หรือญาติที่ใกล้ชิดก็ได้

20. Making the Medication Decision

การใช้ยาเพื่อการลดความวิตกกังวล อาจจะเป็นทางเลือกสุดท้ายหากเราไม่สามารถจัดการความวิตกกังวลด้วยวิธีการอื่น ๆ ได้ แต่ก็ควรปรึกษาแพทย์ และควรใช้ยาเมื่อจำเป็นเท่านั้น

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

ทั้งนี้หากมีความวิตกกังวลที่มากจนไม่สามารถรับมือได้ไหว การเข้าพบผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิตเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้คุณสามารถรับมือกับอาการดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม

ผู้เขียน : รองศาสตราจารย์ ดร.รังสรรค์ โฉมยา

ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

1 ธันวาคม 2565

เอกสารอ้างอิง

Beachboard, C. (2022). The School of Hope: The Journey From Trauma and Anxiety to Achievement, Happiness, and Resilience. Corwin.

Harkness, K. L., & Hayden, E. P. (2020). The Oxford Handbook of Stress and Mental Health. Oxford University Press.

Jennings, S. (2023). Managing Social Anxiety in Children and Young People: Practical Activities for Reducing Stress and Building Self-esteem. Routledge, Taylor & Francis Group.

Micali, S. (2022). Phenomenology of Anxiety. Springer.

Ong, C. W., & Twohig, M. P. (2022). The Anxious Perfectionist: How to Manage Perfectionism. Driven Anxiety Using Acceptance and Commitment Therapy. New Harbinger Publications, Inc.

Palmer, C. M. (2022). Brain Energy: A Revolutionary Breakthrough in Understanding Mental Health–and Improving Treatment for Anxiety, Depression, OCD, PTSD, and More. BenBella Books.

Raskin, A. (2022). Overthinking About You Navigating Romantic Relationships When You Have Anxiety, OCD, and or Depression. Workman Publishing Company, Incorporated.

Smith, L. L. (2022). Anxiety and Depression Workbook For Dummies. Wiley.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *